จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559

(โฉมหน้าเว็บไซต์ ICT ที่ถูกแฮ็คเกอร์เปลี่ยนแปลง)
อาจกล่าวได้ปรากฏการณ์ แฮ็คเกอร์ไทย” ในต่างแดน จู่โจมเปลี่ยนโฉมหน้าเว็บไซต์กระทรวง ICT (เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) กลางวันแสกๆ เมื่อวานนี้ (19 ก.ค.) คือปฏิบัติการณ์ หยามศักดิ์ศรี” กระทรวง ICT และรัฐบาลไทยอย่างไม่ไว้หน้า
ชนิดที่ว่าคนถูกหยามหลายคนต้องรำพึงในใจว่า ชาตินี้ผีไม่เผา เงาไม่เหยียบ” !!
จะไม่เคืองได้อย่างไร ในเมื่อปฎิบัติการนี้สะท้อนผลสะเทือนอย่างเจ็บลึกต่อ “รัฐไทย” หาใช่ “ไทยรัฐ” (ฮา)
เนื่องเพราะปฏิบัติการดังกล่าว เกิดขึ้นกับเว็บไซต์ของกระทรวง ICT ที่เปรียบเหมือน ผู้คุ้มกฎอินเทอร์เน็ตไทย” หรือตำรวจไซเบอร์” และยังเกิดคล้อยหลัง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มีผลบังคับใช้เพียง 1 วันเท่านั้น
ราวกับเจตนาเย้ยหยัน “ความศักดิ์สิทธิ์” ของกฎหมายฉบับใหม่
  

พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550  คือ
มาตรา 17 ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
(1) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ขอร้องให้ลงโทษ หรือ
(2) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
จะต้องได้รับโทษภายในราชอาณาจักร
เมื่อพิจารณามูลฐานความผิดของ “แฮ็คเกอร์” รายนี้ ก็พบว่าน่าจะเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 9 และมาตรา 10 กล่าวคือ
มาตรา 9 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระว่างโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 10 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถึงแม้เว็บไซต์ของกระทรวง ICT จะมิได้มีข้อมูลความลับเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า “ปฏิบัติการ” ครั้งนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อ “ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ”
เนื่องเพราะนักธุรกิจต่างชาติที่ตระหนักถึงความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูล คงไม่รู้สึกตลกขบขันด้วยต่อการที่ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย ถูกล้วงคองูเห่า” อย่างง่ายดาย...
ดังนั้น บทลงโทษ “แฮ็คเกอร์” รายนี้จึงน่าจะ ต้องระวางโทษจำคุกสิบห้าปีและปรับสามแสนบาท
อ้างอิง : บทความ "การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์" โดย ธีราวุธ พานิชกุล 
http://www.savefile.com/files/900256


Top of Form





วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2559

มาตรา 17

มาตรา 17 ฐานความผิดตามมาตรา การกระทำความผิดนอกราชอาณาจักรซึงต้องได้รับโทษในราชอาณาจักร
                ตัวอย่าง การนำตัวผู้กระทำความผิดนอกประเทศ แต่ก่อให้เกิดความเสียหายในประเทศมาลงโทษในราชอาณาจักร
                ความผิดที่กฏหมายบัญญัติ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
(1)    ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทยและรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้น หรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษหรือ
(2)    ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นต่างด้าว และรัฐบาลไทย หรือคนไทยเป็นผู้เสียหาย และผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร



วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559

                                        มาตรา 17 มีข้อจำกัดใน ด้าน คือ
         
 1. การจำกัดเวลาการใช้อำนาจในมาตรา 17 ใช้ได้เฉพาะระหว่างที่ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรมีผลบังคับเท่านั้น
        2. การจำกัดกรณีตามมาตรา 17 บัญญัติให้พิจารณาเป็นกรณีๆไป มิใช่การมอบอำนาจเป็นการทั่วไป
        3. การจำกัดโดยมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีจะต้องขอให้คณะรัฐมนตรีมีมติให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการเป็นกรณีไป (หยุด แสงอุทัย 2507 : 227-228)
         อย่างไรก็ดี มีข้อสังเกตว่า อำนาจพิเศษตามมาตรา 17 นี้เป็นการใช้อำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ โดยฝ่ายบริหารมีอำนาจเทียบเท่าอำนาจปฏิวัติ เพราะสามารถเพิ่มโทษ เปลี่ยนโทษ หรือแต่งตั้งความผิดและกำหนดโทษขึ้นใหม่ สามารถวินิจฉัยชี้ขาดความผิดตลอดจนตีความกฎหมายได้ นอกจากนี้ อำนาจตามมาตรา 17 ยังไม่ใช่การออกกฎหมาย แต่เป็นการใช้อำนาจโดยที่กฎหมายสูงสุดหรือธรรมนูญการปกครองให้อำนาจไว้อย่างล้นพ้น โดยเฉพาะการกำหนดเงื่อนไขการใช้อำนาจไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ความมั่นคง” หรือ ความสงบเรียบร้อย” เป็นคำกว้างๆ  ขึ้นอยู่กับผู้ใช้อำนาจจะตีความ


วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559