(โฉมหน้าเว็บไซต์ ICT ที่ถูกแฮ็คเกอร์เปลี่ยนแปล
![]()
อาจกล่าวได้ปรากฏการณ์ “แฮ็คเกอร์ไทย” ในต่างแดน
จู่โจมเปลี่ยนโฉมหน้าเว็บไซต์กระทรวง ICT (เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
กลางวันแสกๆ เมื่อวานนี้ (19 ก.ค.) คือปฏิบัติการณ์ “หยามศักดิ์ศรี” กระทรวง ICT และรัฐบาลไทยอย่างไม่ไว้หน้า
ชนิดที่ว่าคนถูกหยามหลายคนต้องรำพึงในใจว่า “ชาตินี้ผีไม่เผา เงาไม่เหยียบ” !!
![]()
จะไม่เคืองได้อย่างไร
ในเมื่อปฎิบัติการนี้สะท้อนผลสะเทือนอย่างเจ็บลึกต่อ “รัฐไทย” หาใช่ “ไทยรัฐ” (ฮา)
เนื่องเพราะปฏิบัติการดังกล่าว
เกิดขึ้นกับเว็บไซต์ของกระทรวง ICT ที่เปรียบเหมือน “ผู้คุ้มกฎอินเทอร์เน็ตไทย” หรือ“ตำรวจไซเบอร์” และยังเกิดคล้อยหลัง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มีผลบังคับใช้เพียง 1 วันเท่านั้น
ราวกับเจตนาเย้ยหยัน
“ความศักดิ์สิทธิ์” ของกฎหมายฉบับใหม่
พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ศ.2550 คือ
มาตรา
17 ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
(1)
ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย
และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ขอร้องให้ลงโทษ หรือ
(2)
ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นต่างด้าว
และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
จะต้องได้รับโทษภายในราชอาณาจักร
เมื่อพิจารณามูลฐานความผิดของ
“แฮ็คเกอร์” รายนี้ ก็พบว่าน่าจะเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 9
และมาตรา 10 กล่าวคือ
มาตรา
9 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง
หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ
ต้องระว่างโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา
10 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ
เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง
หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถึงแม้เว็บไซต์ของกระทรวง
ICT
จะมิได้มีข้อมูลความลับเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า “ปฏิบัติการ” ครั้งนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อ
“ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ”
เนื่องเพราะนักธุรกิจต่างชาติที่ตระหนักถึงความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูล
คงไม่รู้สึกตลกขบขันด้วยต่อการที่
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย “ถูกล้วงคองูเห่า” อย่างง่ายดาย...
ดังนั้น
บทลงโทษ “แฮ็คเกอร์” รายนี้จึงน่าจะ ต้องระวางโทษจำคุกสิบห้าปีและปรับสามแสนบาท
อ้างอิง : บทความ "การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์" โดย ธีราวุธ พานิชกุล
http://www.savefile.com/files/900256 |
มาตรา17
จำนวนการดูหน้าเว็บรวม
วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559
วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2559
มาตรา 17
มาตรา 17 ฐานความผิดตามมาตรา การกระทำความผิดนอกราชอาณาจักรซึงต้องได้รับโทษในราชอาณาจักร
ตัวอย่าง การนำตัวผู้กระทำความผิดนอกประเทศ
แต่ก่อให้เกิดความเสียหายในประเทศมาลงโทษในราชอาณาจักร
ความผิดที่กฏหมายบัญญัติ
ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
(1)
ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทยและรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้น หรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษหรือ
(2)
ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นต่างด้าว และรัฐบาลไทย หรือคนไทยเป็นผู้เสียหาย
และผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร
วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2559
วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559
มาตรา 17 มีข้อจำกัดใน 3 ด้าน คือ
1. การจำกัดเวลาการใช้อำนาจในมาตรา 17 ใช้ได้เฉพาะระหว่างที่ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรมีผลบังคับเท่านั้น
2. การจำกัดกรณีตามมาตรา 17 บัญญัติให้พิจารณาเป็นกรณีๆไป มิใช่การมอบอำนาจเป็นการทั่วไป
3. การจำกัดโดยมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีจะต้องขอให้คณะรัฐมนตรีมีมติให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการเป็นกรณีไป (หยุด แสงอุทัย 2507 : 227-228)
อย่างไรก็ดี มีข้อสังเกตว่า อำนาจพิเศษตามมาตรา 17 นี้เป็นการใช้อำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ โดยฝ่ายบริหารมีอำนาจเทียบเท่าอำนาจปฏิวัติ เพราะสามารถเพิ่มโทษ เปลี่ยนโทษ หรือแต่งตั้งความผิดและกำหนดโทษขึ้นใหม่ สามารถวินิจฉัยชี้ขาดความผิดตลอดจนตีความกฎหมายได้ นอกจากนี้ อำนาจตามมาตรา 17 ยังไม่ใช่การออกกฎหมาย แต่เป็นการใช้อำนาจโดยที่กฎหมายสูงสุดหรือธรรมนูญการปกครองให้อำนาจไว้อย่างล้นพ้น โดยเฉพาะการกำหนดเงื่อนไขการใช้อำนาจไม่ว่าจะเป็นเรื่อง “ความมั่นคง” หรือ “ความสงบเรียบร้อย” เป็นคำกว้างๆ ขึ้นอยู่กับผู้ใช้อำนาจจะตีความ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)